ผลการค้นหา "อันดับความโปร่งใส"
การเมือง
01 ก.พ. 62
'บิ๊กตู่' ขอบคุณ พปชร.เชิญเป็นนายกฯ ชี้เรื่องนาฬิกา 'บิ๊กป้อม' เรื่องเล็ก ไม่เกี่ยวไทยถูกลดความโปร่งใส
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่พรรคพลังประชารัฐจะมาเทียบเชิญเป็นนายกฯในบัญชีพรรควันที่ 1 ก.พ.ว่า มาเชิญเมื่อไหร่ก็ยินดี ขอบคุณที่มาเชิญ ส่วนจะรับหรือไม่รับนั้นมีเวลาพิจารณา ประกาศเซ็นตอบรับในเอกสารจนถึงวันที่ 8 ก.พ.ไม่ต้องมาถามทุกวัน เมื่อถามว่า การตัดสินใจทางการเมืองครั้งนี้ คิดมาตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.57 เลยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่าไม่เคยคิดแม้แต่วันเดียว ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ก็เห็นปัญหาต่างๆ คิดว่าจำเป็นต้องทำต่อหรือไม่ ประชาชนอยากให้ทำต่อหรือไม่ อยู่ที่ประชาชน ไม่ได้อยู่ที่ตน และดูนโยบายพรรคใครเป็นอย่างไร จากนั้นตัดสินใจเลือกก็จบ ส่วนการที่ไทยถูกลดอันดับความโปร่งใส พล.อ.ประยุทธ์ ว่าต้องมาดูว่าอันดับตกเพราะอะไร สิ่งหนึ่งที่เขามองอยู่คือการเป็นรัฐบาลแบบนี้จะตรวจสอบได้หรือตรวจสอบไม่ได้ แต่ตนเห็นว่าตรวจสอบได้ทุกองค์กร เมื่อผลตรวจสอบออกมาอย่างไรต้องยอมรับกันบ้าง ถ้าไม่ยอมรับกันเลย คนตรวจสอบก็ทำงานไม่ได้ ตนไม่ได้ทำประโยชน์อะไรของตัวเองสักอย่าง อย่างน้อยคะแนนตนก็เต็มตรงนี้ ให้คะแนนตนไหมล่ะ เมื่อถามว่าส่วนหนึ่งที่อันดับของไทยตกลงผลมาจากกรณีนาฬิกาหรูของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม นายกฯตอบว่า “โอ๊ย เรื่องเล็กๆน้อยๆ เขาตัดสินหรือยัง เมื่อตัดสินแล้วก็จบ ให้จบๆไปเป็นเรื่องๆบ้างแล้วคดีใหญ่ๆบางคดีก็จบไม่ใช่หรือ ทั้งที่ขัดแย้งต่อสายตาประชาชน ก็จบใช่หรือไม่ ของไอ้คนหนีคดีหลายเรื่องก็จบ ทำไมไม่ดูตรงนู้น เชื่อมั่นกันหน่อยสิ” ชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/8Kmjx4-c8S4
2,402การเมือง
31 ม.ค. 62
'องอาจ' ซัด คสช.ล้มเหลวจัดการคอร์รัปชั่น นายกฯลั่นกวาดทุจริต คนติดคุกไปเท่าไรในรัฐบาลนี้
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติสำรวจพบดัชนีคอร์รัปชันของไทยอยู่ที่ลำดับที่ 99 ลดลง 2 อันดับจากปีที่ผ่านมา ระบุต้องยอมรับว่าปัญหาคอร์รัปชันยังเป็นปัญหาใหญ่ที่บั่นทอนการเจริญก้าวหน้า เดิมมองว่านักการเมืองทุจริต แต่ผ่านมาเกือบ 5 ปีที่ไม่มีนักการเมือง มีแต่ข้าราชการ ทั้งทหาร และพลเรือนบริหารประเทศ แต่การทุจริตคอร์รัปชันไม่ได้ลดลง การคอร์รัปชันยังระบาดเหมือนเดิม แต่อัตราส่วนเปอร์เซ็นต์การเรียกรับผลประโยชน์กลับสูงกว่าที่ผ่านมา ยิ่งไม่มีการตรวจสอบที่เข้มแข็ง ผนวกกับกลไกการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาล และภาครัฐอ่อนแอ ยิ่งทำสถานการณ์คอร์รัปชันของไทยทรุดต่ำลง ที่ พล.อ.ประยุทธ์ประกาศเสียงดังจะปราบคอร์รัปชันจริงจัง ก็ไม่ปรากฏเป็นจริง ไม่สามารถทำตามที่พูดไว้ได้ ถือเป็นความล้มเหลวของ คสช.และรัฐบาล ทั้งนี้คาดว่ามาจากสาเหตุ 1.ผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาล และภาครัฐไม่ได้ดำเนินการจริงจังในการปราบปรามคอร์รัปชัน 2.องค์กรตรวจสอบ และกลไกตรวจสอบตามระบบไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.มีภาพการแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ 4.การบังคับใช้กฎหมายถูกละเลย ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรํโอชา นายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงอันดับคอร์รัปชั่นของไทยว่า อะไรที่ดีหรือแย่ก็ต้องไปแก้ในสิ่งที่แย่ หากพูดแล้วกล่าวหาว่า รัฐบาลนี้ก็เหมือนกับทุกรัฐบาลที่ผ่านมา เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ที่ผ่านมาติดคุกไปเท่าไรในรัฐบาลนี้ ก่อนหน้านี้มีการติดคุกแบบนี้หรือไม่ เรื่องการทุจริตต้องดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย ใครผิดว่าไปตามผิด ส่วนตัวไม่เคยก้าวล่วง ดังนั้น ต้องรับผิดชอบกันเอง เรื่องใดที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก็ไม่สามารถเข้าไปยุ่งได้อยู่แล้ว แม้กระทั่งบุคคลใดที่ไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/YWtSHFFEdCU
954เศรษฐกิจ
30 ม.ค. 62
ดัชนีคอร์รัปชั่นไทยร่วงจาก 96 ไปอยู่ลำดับ 99 เหตุติดสินบน ขรก.-การเลือกตั้งไม่ชัดเจน
องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เผยแพร่ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นในภาครัฐทั่วโลก ประจำปี 2561 ซึ่งผลปรากฏว่า ประเทศไทยได้ 36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ถูกลดอันดับลง จากอันดับที่ 96 เมื่อปี 2560 ซึ่งได้คะแนน 37 คะแนน เป็นอันดับที่ 99 ทั้งที่เคยทำอันดับได้ดีขึ้นจากเมื่อปี 2559 ที่เคยอยู่ในอันดับที่ 101 ได้คะแนน 35 คะแนน โดยสาเหตุหลักยังเป็นการติดสินบนข้าราชการ และองค์กรตรวจสอบทุจริตอ่อนแอ ด้านนายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า ไทยได้คะแนนเท่าเดิม 6 แหล่ง คะแนนลดลง 3 แหล่ง ได้แก่ 1.ด้านพัฒนาการจัดการสถาบันระหว่างประเทศ 2.ด้านการให้คำปรึกษาความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ และ 3.ด้านความหลากหลายของโครงการประชาธิปไตย ซึ่งพิจารณาจากการถ่วงดุลของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอดจนการทุจริตของเจ้าหน้าที่ในฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ นอกจากนี้สังคมโลกมองว่าไทยยังขาดความชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง มีข้อจำกัดเรื่องสิทธิเสรีภาพบางประการเพื่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ ทำให้การถ่วงดุลของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และกระบวนการยุติธรรมยังไม่ชัดเจน ชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/3V5V9A0F6wo
3,717สรุปข่าว
30 ม.ค. 62